ประโยชน์ของคอลลาเจนไตร์เปปไทด์ไม่มีแค่เรื่องผิว ?

คอลลาเจนเปปไทด์ คืออะไร ?

คอลลาเจนเปปไทด์ (Collagen peptides) คือ การสกัดคอลลาเจนให้อยู่ในรูปของสายกรดอะมิโนที่สั้นขึ้น โดยนำคอลลาเจนที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์ (Hydrolysis) หรือปฏิกิริยาที่มีน้ำเข้าไปสลายพันธะทำให้สารโมเลกุลใหญ่ แตกตัวเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลงทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องใช้เพื่อสร้างเนื้อเยื่อ ผิวหนัง กระดูก กระดูกอ่อน ข้อต่อ และหลอดเลือด คอลลาเจนเปปไทด์มีโปรตีนมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ ไกลซีน (glycine) ไฮดรอกซีโพรลีน (hydroxyproline) และโพรลีน (proline)

 

คอลลาเจนเปปไทด์ต่างจากคอลลาเจนปกติอย่างไร ?

คอลลาเจนเปปไทด์ต่างจากคอลลาเจนแบบปกติ คือ คอลลาเจนเปปไทด์ร่างกายจะมีการดูดซึมได้เร็วกว่าคอลลาเจนปกติ เนื่องจากคอลลาเจนเปปไทด์ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์ (Hydrolysis) ซึ่งอยู่ในรูปของสายกรดอะมิโนที่สั้นขึ้น จะมีขนาดโมเลกุลอยู่ที่ประมาณ 2,000 ดาลตัล ซึ่งคอลลาเจนแบบปกติทั่วไปอาจจะมีขนาดโมเลกุลอยู่ที่ประมาณมากกว่า 300,000 ดาลตัน ขนาดโมเลกุลที่เล็กกว่าของคอลลาเจนเปปไทด์จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพในการดูดซึมมากกว่าคอลลาเจนแบบปกติ

คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบของอะไรในร่างกายบ้าง ?

ผิวหนัง กระดูก ผนังหลอดเลือด และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ

คอลลาเจนประเภทที่ 1 (type I) พบมากถึง 90% ของคอลลาเจนทั้งหมดในร่างกาย คอลลาเจนประเภทนี้จะช่วยในการสร้างกระดูก ผนังหลอดเลือด เอ็นและเอ็นยึดกล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระจกตา และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีความเหนียวและแข็งแรงมากที่สุด โดยจะมีความสำคัญในเรื่องของเพิ่มความยืดหยุ่น ป้องกันเนื้อเยื้อไม่ให้ฉีกขาด และช่วยสมานแผลบนผิวหนังได้ดี ด้วยเหตุนี้ผิวของผู้ที่มีคอลลาเจนอย่างเพียงพอจึงสวย เนียน และไร้ริ้วรอย

กระดูกอ่อนและข้อต่อต่าง ๆ

คอลลาเจนประเภทที่ 2 (type II) พบมากในกระดูกอ่อน เช่น ส่วนประกอบของหู จมูก หลอดลม และกระดูกซี่โครง คอลลาเจน type II จะทำหน้าที่แตกต่างจากคอลลาเจน type I โดยจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ของเซลล์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อการลดอัตราการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ซึ่งคอลลาเจนชนิดที่ 2 เป็นคอลลาเจน ที่พบได้ในกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกสันหลัง จะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงแก่ข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ปกติแล้วในกระดูกอ่อนจะประกอบด้วยโครงข่ายของเส้นใยคอลลาเจน type II รวมตัวกับกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) และโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan) ได้แก่ แอกกริแคน (Aggrecan) ซึ่งมีไกลโคอะมิโนไกลแคน (Glycoaminoglycans) คือคอนโดอิติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) และเคอราแทน ซัลเฟต (Keratan Sulfate) เป็นส่วนประกอบ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่น้ำหนักตัวมาก และผู้สูงอายุ กระดูกอ่อนชนิด Articular Cartilages ที่มีความทนต่อแรงกระแทกจะเริ่มเสื่อมลงโดยเฉพาะที่ข้อต่อที่รับน้ำหนักเช่นข้อเข่าและสะโพก จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะการเกิดข้อเสื่อม ข้ออักเสบ (Osteoarthritis)

เส้นผมและเยื่อบุเซลล์ต่าง ๆ 

คอลลาเจนประเภทที่ 5 (type V) เป็นคอลลาเจนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อบุเซลล์ต่าง ๆ พบในผิวของเซลล์ และเส้นผม

ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ผนังหลอดเลือด

คอลลาเจนประเภทที่ 3 (type III) มักพบร่วมกับประเภทที่ 1 คือพบในผิว กล้ามเนื้อ และผนังหลอดเลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกาย สามารถพบร่วมกับคอลลาเจนชนิดที่ 1 แต่พบได้น้อยกว่าประมาณ 10 % โดยส่วนใหญ่มักพบในผนังหลอดเลือด แต่พบได้น้อยในข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนชนิดที่ 2

เนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ และไขมัน

คอลลาเจนประเภทที่ 4 (type IV) พบใน basal lamina และ basement membrane ในส่วนของ epithelium-secreted layer ซึ่งเป็นคอลลาเจนที่มีลักษณะเฉพาะตัว โดยจะพบมากบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อและไขมัน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาทและเส้นเลือดอีกด้วย

ประโยชน์ของคอลลาเจนเปปไทด์

 ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง เนียนนุ่มชุ่มชื้น การบริโภคคอลลาเจนเปปไทด์ จะช่วยเพิ่มอิลาสตินในชั้นผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้นและเติมเต็มให้ผิวแน่นอิ่มฟูขึ้น นอกจากนี้ จำนวนอิลาสตินที่เพิ่มขึ้น ยังมีส่วนช่วยให้ผิวดูเรียบเนียน อ่อนกว่าวัย

ช่วยบำรุง และฟื้นฟูสภาพผิวให้แข็งแรง คอลลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกายประมาณ 1 ใน 3 และจะเสื่อมสภาพไปเมื่อเข้าสู่ช่วยอายุ 30 ปี ร่างกายของเราจะผลิตคอลลาเจนได้น้อยลง การรับประทานอาหารเสริมที่มีคอลลาเจนเปปไทด์ (Collagen peptide) จะช่วยทดแทนคอลลาเจนที่เสื่อมสภาพไปได้ ส่งผลให้ผิวพรรณมีความเต่งตึง และชุ่มชื้นมากขึ้น แดก

ช่วยลดอาการหลุดร่วงของเส้นผม บำรุงผมให้แข็งแรง คอลลาเจนเปปไทด์จะช่วยเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตโปรตีนไฟเบอร์มากขึ้น ซึ่งโปรตีนไฟเบอร์เหล่านี้คือส่วนประกอบของโครงสร้างเส้นผม ถ้าเส้นผมเราขาดโปรตีนไฟเบอร์แล้ว เส้นผมจะอ่อนแอและขาดหลุดร่วงง่าย เกล็ดผมปิดไม่สนิท ผมจึงแห้งกร้าน ชี้ฟูและแตกปลาย

ช่วยเพิ่มน้ำในข้อต่อ ลดการเสียดสีของข้อเข่า คอลลาเจนเปปไทด์มีส่วนสำคัญที่ช่วยในการลดอัตราการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อโดยมีสารสำคัญ คือ เอพพิโทพส์ (Epitopes) โดยจะไปหยุดกระบวนการทำลายของกระดูกอ่อน ซึ่งจะช่วยต้านการอักเสบ ช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่า และช่วยทำให้เคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมมีอาการดีขึ้น